ง่ายๆกับการมี Website พร้อมทำการตลาดออนไลน์ เพิ่มโอกาศทางธุรกิจของคุณ พิเศษสุดรับส่วนลด 30%

IBCT Ways to prevent and clear of the Thai Customs for Import - Export. สัมมนาเรื่อง แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาทางศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออก




                   จากประสบการณ์ด้าน พิธีการศุลกากร กว่า 20 ปี ทำให้เรารู้และเข้าใจถึงปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วนของผู้ประกอบการนำเข้าส่ง-ออก ปัญหาที่ว่านี้คือปัญหาการกระทำความผิดทางศุลกากร โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยไม่รู้ตัว เมื่อธุรกิจเคลื่อนตัวไปตามกลไกของตลาดภายใต้การวางแผนเชิงกลยุทธ์กลวิธีที่จะทำอย่างไรให้เกิดความสามารถถือครองตลาดได้ยาวนานที่สุด  สิ่งที่บอกได้คือปริมาณการนำเข้า-ส่งออกที่มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หารู้ไม่ว่าการจัดการนำเข้า-ส่งออกในแต่ละครั้งนั้นได้เกิดการสะสมปัญหาที่เกิดเป็นความผิดทางศุลกากร เมื่อถึงเวลาที่ศุลกากรเข้าตรวจสอบข้อมูลสินค้านำเข้า-ส่งออก ณ สถานประกอบการแล้ว จึงทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่าตนเองได้กระทำผิดทางศุลกากรเมื่อในอดีตของสินค้าที่ขายออกไปแล้ว คำนวนกำไร-ขาดทุนสำหรับปีนั้นไปเรียบร้อยแล้ว  แต่วันนี้จะต้องมาแก้ปัญหาในอดีตโดยการต้องชำระภาษีศุลกากรเพิ่มอีกครั้ง พร้อมกับค่าปรับภาษีย้อนหลัง
                ปัญหานี้ มีทางแก้ไขได้หากต้องแก้ที่ต้นเหตุก่อนคือการปรับปรุงระบบงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้านำเข้า-ส่งออกคือฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิติกส์ ฝ่ายการเงินการบัญชี เพื่อให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานของการทำงานในปัจจุบันด้วยการให้ความสำคัญต่อปัญหากับศุลกากรเป็นหลัก หากยังไม่มีมาตรฐานก็จะส่งผลทำให้เกิดการสะสมปัญหาโดยไม่รู้ตัวหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลักการทำงานเพื่อเข้าสู่มาตรฐานนั้นหมายถึง หลักการที่ผู้มีหน้าที่ลงมือปฏิบัติงานมีความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติและรู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทางตรงและทางอ้อม และสามารถตรวจสอบเพื่อประเมินในผลดีหรือผลเสียที่ตามมาด้วย 

หลักการดังกล่าวคือ

                 1.หลักการวางแผนการนำเข้า-ส่งออก
 หากไม่มีการวางแผนงานก่อนหรือภายหลังการนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลทำให้สินค้าอาจถูกกักไว้ในเขตศุลกากรเพื่อรอการพิจารณา
ความผิดหรือรอการพิสูจน์จนเป็นที่พอใจของศุลกากร หรือถูกอายัดไว้เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้า-ส่งออกเพราะเป็นสินค้าต้องควบคุมการนำเข้า-ส่งออกโดยมีเงื่อนไข หรือถูกยึดไว้ให้ตกเป็นของแผ่นดินเพราะเป็นสินค้าต้องห้ามการนำเข้า-ส่งออก การวางแผนด้านค่าใช้จ่ายหากไม่มีการประเมินที่รอบคอบอาจทำให้เป็นสาเหตุให้ต้นทุนสูงขึ้นเกินความคาดหมาย 

                 2.หลักการตรวจสอบเอกสารทางการค้าก่อนนำไปผ่านพิธีการศุลกากร 
การตรวจสอบเอกสารทางการค้าก่อนนำไปผ่านพิธีการศุลกากร ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและความรู้ในการตรวจสอบของผู้ทำการตรวจสอบ ซึ่งมีพื้นฐานความเข้าใจในกฎการตรวจสอบของศุลกากรเป็นอย่างดีจึงจะบรรลุผล

                 3.หลักการใช้พิกัดและอัตราภาษีศุลกากร
 การใช้พิกัดและอัตราภาษีศุลกากร จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของสินค้าเช่น ประเภท ชนิด ลักษณะ การนำวัตถุใช้เพื่อการผลิต 
หน้าที่และวิธีการใช้งาน ประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ เมื่อได้มีการรวบรวมข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้นำมาประกอบการพิจารณาใช้พิกัดศุลกากรเพื่อให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมกับรหัสพิกัดศุลกากร หลังจากนั้นให้ทำการพิจารณาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในเรื่องของการได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากรต่อไป หากการพิจารณาเกิดความผิดพลาดไม่รอบคอบจะส่งผลทำให้การใช้พิกัดศุลกากรและอัตราภาษีผิดพลาดเช่นเดียวกัน ประเด็นนี้มีความผิดตามกฎหมายศุลกากรในฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีเป็นสาเหตุให้ค่าภาษีที่ชำระไว้แล้วขาด ศุลกากรต้องสั่งให้ชำระเพิ่มพร้อมกับค่าปรับอีกสองเท่าของค่าภาษีอากรเมื่อรวมกับค่าภาษีที่ต้องชำระแล้วทั้งสิ้นเป็นสามเท่า 

                  4.หลักการพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคตเพื่อนำมาสร้างเป็นฐานภาษี  ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าไม่ว่าจะมีการชำระแล้วในปัจจุบันหรือจะต้องชำระในอนาคต มีความสำคัญมากเท่ากับการใช้พิกัดและอัตราภาษีศุลกากร
และหากเกิดความผิดพลาดก็จะได้รับผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าต้องปฏิบัติตามกฎของระบบราคาแกตต์ที่กรมศุลกากรได้นำมาใช้เป็นบรรทัดฐานและยอมรับ ซึ่งการแสดงค่าใช้จ่ายที่ได้ชำระแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่แจ้งต่อกรมศุลกากรให้ทราบเพื่อนำมาสร้างเป็นฐานภาษีในการคำนวณค่าภาษีแต่ต้องแยกให้ออกว่าเมื่อเกิดการชำระแล้วมีค่าใดบ้างที่ต้องแจ้งศุลกากร  

                 5.หลักการนำข้อมูลสินค้านำเข้า-ส่งออกและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมาบันทึกทางระบบบัญชี
 หลังจากที่มีการนำเข้า-ส่งออกสำเร็จแล้ว เป็นหน้าที่ของนักบัญชีที่ต้องบันทึกข้อมูลสินค้าพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก เพื่อเข้า
ระบบบัญชี แต่ก่อนที่นักบัญชี จะตัดสินใจ มีความจำเป็นต้องศึกษาที่มาและวิธีการเข้ามาของสินค้าว่าถูกต้องตามกฎหมายศุลกากรหรือไม่หากไม่ให้ความสำคัญหรือมองข้ามไป อาจทำให้ข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลของสินค้าที่หนีภาษีศุลกากรและผู้ประกอบการต้องได้รับโทษตามกฎหมายของศุลกากรเพราะศุลกากรถือว่าเป็นความผิดจะได้รับบทลงโทษที่หนักมาก 

                 6.สุดท้ายหลักการจัดเก็บเอกสารเพื่อศุลกากร 
 การจัดเก็บเอกสารเพื่อศุลกากรนั้นเป็นหน้าที่ของนักบัญชี แต่ทั้งนี้นักบัญชีต้องมีความรู้ในเรื่องวิธีการตรวจสอบเอกสารก่อนจัดเก็บ ซึ่งสำคัญมาก ใน
ทางปฏิบัติโดยส่วนใหญ่เอกสารที่ต้องจัดเก็บนั้นมีหลายชุดหลายฉบับ จำเป็นต้องหาหลักฐานเอกสารที่ตรงกับค่าใช้จ่ายและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบก่อน หลังจากนั้นต้องตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารว่ามีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ส่งให้กับศุลกากรหรือไม่ถ้าไม่สอดคล้องกันถือว่าเอกสารชุดนั้นมีความเสี่ยงและอันตรายมากถ้าต้องจัดเก็บซึ่งนักบัญชีต้องแก้ปัญหาให้เสร็จก่อนการจัดเก็บเอกสารต่อไป 

                 ทุกหลักการย่อมมีความสำคัญมากจำเป็นต้องใช้ในการลงมือปฏิบัติงานทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจ เพื่อหยุดการสะสมปัญหาให้ต้องแก้ไขในอนาคต  ปัญหา
ทางศุลกากรเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถหาทางแก้ไขได้หรือหาทางป้องกันปัญหาได้ แต่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางอย่างแท้จริงเช่นความรู้เรื่องกฎหมายศุลกากร กฏหมายพิกัดศุลกากร กฎระเบียบวิธีปฏิบัติงานและวิธีการตรวจสอบของศุลกากรประกอบกับต้องมีความรู้จากประสบการณ์ด้านพิธีการศุลกากรมาแล้วเป็นอย่างดี เพื่อประสิทธิภาพในการวางแผนงานเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาทาง ศุลกากร ภายใต้การนำพาธุรกิจก้าวหน้าต่อไป

                เมื่อไหร่ที่ธุรกิจต้องชำระภาษีย้อนหลังและค่าปรับภาษีนับว่าเป็นความสูญเสียที่มิอาจคาดการณ์วางงบประมาณได้ล่วงหน้าจึงทำให้ไปส่งผลกระทบต่อ
ด้านผลกำไรสุทธิจะเกิดความไม่แน่นอนและเป็นตัวเลขที่ยังไม่เป็นจริง ซึ่งไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะนั่นหมายถึงอนาคตของธุรกิจต้องนับถอยหลัง  

                เราคือผู้ชำนาญการ ศุลกากร และมีประสบการณ์ด้านพิธีการศุลกากร
กว่า20ปี ผลงานของเราในวันนี้จะช่วยสร้างฐานความมั่นคงให้กับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ได้อย่างแน่นอน


 สัมมนาเรื่อง แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาทางศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออก
            (Ways to prevent and clear of the Thai Customs for Import - Export.)

                 วันที่ 19 ตุลาคม 2554   ค่าสัมมนา  3,450.00 (ไม่รวมVAT)
         สถานที่จัดสัมมนา IBCT-Seminar-Traning-Meeting Zone (บางนา กม.8)

หลักการและเหตุผล

               การนำข้า-ส่งออก เมื่อปัญหาทางศุลกากรเกิดขึ้นแล้วจะมีผลนำไปสู่การกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรและทำให้ต้องได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย ความเสียหายที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า-ส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้มีผลกระทบต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วยโดยไม่รู้ตัวอย่างคาดการณ์ไม่ถึง กระทบไปถึงระบบการตลาดที่ได้วางแผนราคาขายไว้แล้วสิ่งที่น่าช้ำใจที่สุดคือการขาดทุน

               ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อศุลกากรตรวจพบประเด็นของการกระทำความผิดตามกฎหมายสิ่งที่ศุลกากรต้องปฏิบัติคือ การกักสินค้าไว้เพื่อส่งดำเนินคดี ผลการพิจารณาคดีที่เจ้าของสินค้าได้รับคือ การขอคืนภาษีไม่ได้  ต้องชำระภาษีเพิ่ม  ต้องชำระค่าปรับภาษีอีกสองเท่า  สินค้าถูกยึดให้ตกเป็นของแผ่นดิน  สินค้าถูกยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรโดยให้ชำระภาษีในอัตราเต็ม ฯลฯ
              การศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาทางศุลกากรถือว่าเป็นวิชามหาคุณที่จะนำพาให้ท่านรู้ถึงสาเหตุแห่งการเกิด และวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา รู้ถึงผลลัพธ์ของการลงมือปฏิบัติงานว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อบริษัทในอนาคต เข้าใจกฎ-ระเบียบของศุลกากรและวิธีการตรวจสอบของศุลกากร รู้หลักการในวิธีปฏิบัติ เพื่อการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง  

            ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำเข้า-ส่งออก จะต้องให้ความสำคัญสำหรับกฎของศุลกากรไทย ถ้าไม่เข้าใจกฎหรือหลักการ อาจเกิดความผิดพลาดอย่างคาดไม่ถึงหรือกระทำความผิดโดยรู้ท่าไม่ถึงการณ์และสูญเสียทั้งเงินและเวลาไปอย่างน่าเสียดาย 

            เป้าหมายของการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ท่านนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงานที่ปฏิบัติในปัจจุบันเป็นผลสำเร็จ เพื่อป้องกันปัญหางานได้  และ แก้ไขปัญหางานได้
โปรด ดาวน์โหลด รายละเอียดที่นี่




แนวทางป้องกันปัญหาทางศุลกากร
               การนำข้า-ส่งออก เมื่อปัญหาทางศุลกากรเกิดขึ้นแล้วจะมีผลนำไปสู่การกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรและทำให้ต้องได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย ความเสียหายที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า-ส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้มีผลกระทบต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วยโดยไม่รู้ตัวอย่างคาดการณ์ไม่ถึง กระทบไปถึงระบบการตลาดที่ได้วางแผนราคาขายไว้แล้วสิ่งที่น่าช้ำใจที่สุดคือการขาดทุน

             ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อศุลกากรตรวจพบประเด็นของการกระทำความผิดตามกฎหมายสิ่งที่ศุลกากรต้องปฏิบัติคือ การกักสินค้าไว้เพื่อส่งดำเนินคดี ผลการพิจารณาคดีที่เจ้าของสินค้าได้รับคือ การขอคืนภาษีไม่ได้  ต้องชำระภาษีเพิ่ม  ต้องชำระค่าปรับภาษีอีกสองเท่า  สินค้าถูกยึดให้ตกเป็นของแผ่นดิน  สินค้าถูกยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรโดยให้ชำระภาษีในอัตราเต็ม ฯลฯ

             การศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาทางศุลกากรถือว่าเป็นวิชามหาคุณที่จะนำพาให้ท่านรู้ถึงสาเหตุแห่งการเกิด และวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา รู้ถึงผลลัพธ์ของการลงมือปฏิบัติงานว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อบริษัทในอนาคต เข้าใจกฎ-ระเบียบของศุลกากรและวิธีการตรวจสอบของศุลกากร รู้หลักการในวิธีปฏิบัติ เพื่อการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง 

            ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำเข้า-ส่งออก จะต้องให้ความสำคัญสำหรับกฎของศุลกากรไทย ถ้าไม่เข้าใจกฎหรือหลักการ อาจเกิดความผิดพลาดอย่างคาดไม่ถึงหรือกระทำความผิดโดยรู้ท่าไม่ถึงการณ์และสูญเสียทั้งเงินและเวลาไปอย่างน่าเสียดาย 

            เป้าหมายของการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ท่านนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงานที่ปฏิบัติในปัจจุบันเป็นผลสำเร็จ เพื่อป้องกันปัญหางานได้  และ แก้ไขปัญหางานได้




Contact Us



Inter Business Consult & Training Co.,Ltd.
Address : 216  Ramkhamhang 2  , Dokmai  , Prawet
Province : Bangkok
Post code: 10250
Country: Thailand
Telephon : (662) 397-7715-6
Fax : (662) 397-7714
Mobile :089-8132099  คุณ ผกา
E-Mail: [email protected]
Website: http://www.ibct-th.com

ibct-th



Our Merchants

 
ไทยสยามออนไลน์ : 91/79 หมู่ 11 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
บริการลูกค้า เจ้าหน้าที่ดูแลเวบไซต์ : โทร 089 504 7949 , 02 077 4427 Fax : 02 077 4427
E-Mail : [email protected]
Copyright 2009 Thaisiamonline การตลาดออนไลน์,โฆษณาออนไลน์,Online Marketing,SEM,SEO,การตลาด,โฆษณา . Powered by Thaisiamonline .